Welcome To V4MF Publications

ชุมชนบ้านต๋อมดง : วิถีเกษตรต้นน้ำและการจัดการป่าชุมชน

Publication Date
01 Feb 2018
Authors
RECOFTC
Editors
ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
Publisher
ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
Serial No.
0000017
ชุมชนบ้านต๋อมดง : วิถีเกษตรต้นน้ำและการจัดการป่าชุมชน

หนังสือชุมชนบ้านต๋อมดง : วิถีเกษตรต้นน้ำและการจัดการป่าชุมชน เป็นหนังสือที่บอกกล่าวถึง เรื่องราวของชุมชนบ้านต๋อมดง หมู่ 7 ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมือง จังหวัดเพะเยา ซึ่งตั้งอยู่ตอนบนของลุ่มน้ำอิง พื้นที่ของชุมชนเป็นพื้นที่ต้นน้ำที่ไหลลงสู่กว๊านพะเยา และไหลเชื่อมโยงสู่แม่น้ำอิงที่ยาวกว่า 260 กิโลเมตรที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและบริการทางนิเวศหล่อเลี้ยงวิถีความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่นกลางน้ำ และท้ายน้ำ แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำโขง ลุ่มน้ำอิงเป็นพื้นที่เชื่อมต่อด้านการอนุรักษ์ (Conservation Corridor) ที่มีความเสี่ยงต่อการคุกคามมากที่สุดแห่งหนึ่งในอินโด-เบอร์มา ฮอตสปอต (Indo-Burma Hotspot) ดังนั้นการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และภาคีต่างๆในการจัดการทรัพยากรในลุ่มน้ำอิงให้ยั่งยืนโดยเฉพาะชุมชนต้นน้ำจึงเป็นสำคัญ ดังนั้นโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายท้องถิ่นและหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อการจัดการลุ่มน้ำอิงอย่างยั่งยืน (Empowerment of Local Networks and Local Authorities (LAs) for Sustainable Ing Watershed Management หรือ โครงการอนุรักษ์แม่น้ำอิง) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) – ประเทศไทย กับสถาบันความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและอาเซียน มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย โดยมีภาคีท้องถิ่นในการดำเนินงานคือ สภาประชาชนลุ่มน้ำอิง กลุ่มอนุรักษ์เชียงของ สถาบันปวงพญาพยาว มหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสหภาพยุโรป โดยมีพื้นที่ชุมชนเป้าหมายในการปฏิบัติการเพื่อสร้างรูปธรรม บทเรียน และองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรเพื่อขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆ ในลุ่มน้ำ บ้านต่อมดงเป็นบ้านหนึ่งในชุมชนเป้าหมายของโครงการอนุรักษ์แม่นำ้อิงที่มีรูปธรรมตัวอย่างด้านการจัดการป่าชุมชนต้นน้ำ จึงได้ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลพื้นฐาน สภาพเศรษฐกิจสังคม รูปแบบและบทเรียนการจัดการป่าชุมชนของชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลชุมชน สามารถขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆ ในลุ่มน้ำอิง และใช้สนับสนุนนโยบายการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำโดยชุมชนมีส่วนร่วมต่อไป